ม.นเรศวร เปิดเวทีเชิงปฏิบัติการ “ผลกระทบจากโครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษ 21 ที่จะเกิดขึ้นกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

     เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561 วิทยาลัยประชาคมอาเซียนศึกษาจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ “The Impact of the Belt and Road Initiative (BRI) in Southeast Asia” เพื่อทราบถึงการริเริ่มของโครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษ 21 รวมทั้งผลกระทบจากโครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษ 21 ที่จะเกิดขึ้นกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในงานมีการบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ อาทิ หัวข้อ “A Liberal Asia-Pacific Regional Order and Japan’s Diplomacy” โดย Assoc. Prof. Dr. Sachiko Hirakawa, Center For International Education จาก Waseda University หัวข้อ “The Impact of the Belt and Road Initiative (BRI) in Thailand” โดย คุณกวี จงกิจถาวร นักข่าวอาวุโสและอดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ The Nation เป็นต้น โดยมีผู้สนใจร่วมรับฟังการบรรยายกว่า 50 คน ณ ห้องประชุม 209 ชั้น 2 อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร

     ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภิสา ไวฑูรเกียรติ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยประชาคมอาเซียนศึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันประเทศจีนมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การริเริ่มดำเนินการโครงการเส้นทางสายไหมศตวรรษ 21 (Belt and Road Initiative: BRI) โดยจีนนั้นเป็นความพยายามที่จะสร้างการเชื่อมต่อระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกาเข้าด้วยกัน ซึ่งความเชื่อมโยงดังกล่าวจะทำในรูปแบบของการสร้างเครือข่ายโครงสร้าง สาธารณูปโภค รวมถึงเส้นทางรถไฟ ถนนท่อลำเลียงพลังงาน ระบบการจ่ายไฟฟ้า นอกจากนี้ ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative ยังมุ่งสร้างความร่วมมือระหว่างภูมิภาคในด้านต่างๆ ซึ่งรวมถึงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง การค้าการเงิน สังคมและวัฒนธรรม

     จากแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงแนวโน้มการลงทุน FDI ได้มีการไหลเข้าสู่ประเทศกำลัง พัฒนาโดยเฉพาะประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและอาเซียน โดยเน้นไปในเรื่องของการสร้างความเชื่อมโยงและ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องเร่งดำเนินการเป็นอันดับแรกในการที่จะนำไปสู่การ ยกระดับและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดังนั้น การดำเนินยุทธศาสตร์ “Belt and Road Initiative” ของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเส้นทางสายไหม Silk Route Economic Belt ที่พาดผ่านเอเชียกลาง เอเชียตะวันตก เอเชียใต้ รวมถึงอาเซียนเพื่อส่งเสริมและผลักดันความร่วมมือกับจีนในด้านต่าง ๆ เช่น การคมนาคมขนส่ง การค้า การลงทุน พลังงาน การรวมกลุ่มทางภูมิภาค และการใช้สกุลเงินหยวน จะสามารถ ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมกับอาเซียน รวมถึงไทยที่มีความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ในการเป็น ศูนย์กลางของอาเซียนที่จะสร้างความเชื่อมโยง (connectivity) กับประเทศต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ตามยุทธศาสตร์ด้านต่างประเทศของไทยต่อการเป็นศูนย์กลางในด้านต่างๆ ของอาเซียน

 

 

Loading

แชร์รายการนี้
fb-share-icon