เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 19/2562 โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดี เป็นประธานการประชุม ณ อาคารอเนกประสงค์ด้านหน้ามหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อพิจารณานโยบายและระเบียบต่าง ๆ ที่สำคัญ ในการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี อธิการบดี กล่าวนโยบายก่อนเริ่มการประชุมว่า การทำงานนอกจากการทำงานตามนโยบาย 3I แล้ว ต้องมีการทำงานตามทิศทางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยเน้นการขับเคลื่อน BCG Model* หนึ่งในนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้กำหนด OKRs (Objectives & Key Results) นอกจากพันธกิจ 5 ด้านของมหาวิทยาลัย ต้องมีเป้าหมายเน้นผลผลิตให้เป็นรูปธรรมพร้อมขับเคลื่อนประเทศให้บรรลุประเทศไทย 4.0
สำหรับมหาวิทยาลัยนเรศวรต้องเน้นสร้างองค์ความรู้ให้กับประชาชนทุกช่วงวัย โดยกำหนด OKRs (Objectives & Key Results) เพื่อให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยไปสู่เป้าหมาย
O: University Global recognition คือ มหาวิทยาลัยต้องเป็นที่ยอมรับในระดับสากลโดยใช้นโยบาย 3I ในการขับเคลื่อนควบคู่กับปรัชญาเศรษกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
K: Area / Regional / Global Network and Collaboration คือ การปฏิบัติในระดับคณะ วิทยาลัย และกองต้องมีการทำงานในลักษณะความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งส่วนราชการและเอกชนในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ความร่วมมือที่เป็นระดับภูมิภาค (ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคอีสาน) และความร่วมมือในระดับนานาชาติ
R: 3 Clusters as BCG winners at National and Global levels คือ มหาวิทยาลัยต้องการให้ 3 กลุ่มสาขาวิชา สร้างความโดดเด่น ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ ที่เกี่ยวกับและสอดคล้องกับ BCG Model ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
*BCG Model ประกอบด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ B bioeconomy ระบบเศรษฐกิจชีวภาพ มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างคุ้มค่า เชื่อมโยงกับ C circular economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่คำนึงถึงการนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และทั้ง 2 เศรษฐกิจนี้ อยู่ภายใต้ G green economy ระบบเศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน BCG Model มุ่งพัฒนาตอบโจทย์ครอบคลุมทุกภาคส่วน ทั้งในภาคการเกษตรและอาหาร ด้านพลังงานและวัสดุ ด้านสุขภาพและการแพทย์ และด้านการท่องเที่ยว โดยมุ่งจะนำประเทศไปสู่การเป็นผู้นำการผลิตอาหารคุณภาพ 1 ใน 5 ของโลก เพิ่ม GDP เป็น 4.3 ล้านล้านบาท ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับทุกภูมิภาคของประเทศ
หลังจากรับทราบนโยบายจากอธิการบดี คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยจึงได้มีการพิจารณาการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยที่สำคัญ ได้แก่
มหาวิทยาลัยนเรศวรได้จัดเตรียมกิจกรรมแสดงความยินดีสำหรับผู้ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประจำปีการศึกษา 2562 จำนวน 5 ท่าน ประกอบไปด้วย
1. เจ้าชายฟูมิฮิโตะ เจ้าอากิชิโนะปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์
2. ศาสตราจารย์ไชยยศ เหมะรัชตะ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
3. นายแพทย์พินิจ หิรัญโชติ ปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
4. นางพัชรา บัวทอง ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย
5. Mr.Ma Minxiang ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพลังงานทดแทน
พิจารณาคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาทางจรรยาบรรณ จำนวน 2 ท่าน
1. ตัวแทนจากผู้ดำรงตำแหน่งบริหาร ได้แก่ รองศาสตราจารย์จิรประภา มากลิ่น คณบดีคณะนิติศาสตร์
2. ตัวแทนจากผู้อำนวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง ได้แก่ นางนิพัทธ์ เกศาพร ผู้อำนวยการกองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
พิจารณาคัดเลือกคณะกรรมการส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยไปปฏิบัติงานในภาคเอกชนจำนวน 3 ท่านได้แก่
1. รองศาสตราจารย์ ดร.จารุภา วิโยชน์ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์
2. รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แย้มเม่น คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชญานัน รัตนวิบูลย์สมคณบดีคณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร
พิจารณาเห็นชอบรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2561 โดยคะแนน SAR รวมทุกตัวบ่งชี้ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 4.44 คะแนน และคะแนน CAR รวมทุกตัวบ่งชี้ได้คะแนนเฉลี่ยรวม 4.37 คะแนน
พิจารณาเห็นชอบให้วิทยาลัยนานาชาติ ใช้ระบบเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ(Education Criteria for Performance Excellence EdPEx) ในปีการศึกษา 2562-2563 และใช้ระบบเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร ใช้ระบบการประเมินเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance AUN-QA) โดยใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนผลการดำเนินงาน ในปีการศึกษา 2562-2565
พิจารณาอนุมัติให้ ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับ องค์กร สถาบัน และเอกชน ต่างๆ จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้
1. (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรกับ โรงพยาบาลลำปาง
2. (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยในเครือข่าย เทา-งาม
3. (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและแผนกิจกรรมร่วมกัน ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับ University of Otago ประเทศนิวซีแลนด์
4. (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับ Faculty of Dentisty,Niigata University ประเทศญี่ปุ่น
5. (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยนเรศวร กับ มหาวิทยาลัยในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย จำนวน 8 แห่ง 1 สถาบัน
6. (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (Agreement of Cooperation) ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับ Techincal University of Cluj-Napoca ประเทศโรมาเนีย
7. (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
พิจารณาเห็นชอบ (ร่าง) ประกาศมหาวิทยาลัยนเรศวร เรื่อง หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีจ่ายเงินทุนสนับสนุนเพื่อรับนิสิตเรียนดีสำหรับนิสิตปริญญาตรี ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สำหรับกำหนดการประชุมกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งต่อไป จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13.30 น ณ อาคารอเนกประสงค์ ด้านหน้ามหาวิทยาลัยนเรศวร ชั้น 3 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายเลขานุการการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยนเรศวร กองกลาง สำนักงานอธิการบดี โทร 0 5596 2328