มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยการขับเคลื่อนของ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร เล็งเห็นถึงความสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ และนโยบาย Thailand 4.0 จึงมุ่งเน้นพัฒนาหลักสูตรใหม่ให้มีความทันสมัยและมีความเป็นสากล โดยสนับสนุนให้มีการพัฒนาหลักสูตรนานาชาติ MA/PhD in Social and Sustainable Development (SSD) ที่เป็นหลักสูตรแบบ Joint-Degree ร่วมกับ Newcastle University ในสหราชอาณาจักร
จุดเริ่มต้นของความร่วมมือกับ Newcastle University ในการพัฒนาหลักสูตรนานาชาติ MA/PhD in Social and Sustainable Development (SSD)
มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มอบหมายให้คณะสังคมศาสตร์ เป็นผู้แทนเข้าร่วมในโครงการ “UK-Thailand Transnational Education (TNE) Development Project Year 2: Gearing towards Thailand 4.0 and Sustainable Development” จัดโดย British Council และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อระหว่างวันที่ 27-30 พฤศจิกายน 2560 ณ University of Westminster กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เพื่อพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและยกระดับมาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาของประเทศไทยให้อยู่ในระดับสากล ผลจากการเข้าร่วมในโครงการดังกล่าว ทำให้คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร สามารถพัฒนาหลักสูตรนานาชาติ MA/PhD in Social and Sustainable Development (SSD) ร่วมกับ The Postgraduate Certificate in Social Research Training ของ Faculty of Humanities and Social Sciences, Newcastle University โดยได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรจาก Partnership Development Grant จาก British Council ซึ่งหลักสูตรนี้ จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาเครือข่ายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนและการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม ร่วมกับผู้เรียนทั่วโลกโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบการเรียนทางไกลแบบใหม่ (Blended Method) โดยหลักสูตรนี้มีแผนจะเปิดรับนิสิตใหม่ในปีการศึกษา 2562 และเป็นหลักสูตรแรกของประเทศไทย ที่บูรณาการนโยบาย Thailand 4.0 เข้ากับการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาที่สหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดเป็นเป้าหมายสำหรับทุกประเทศทั่วโลกได้อย่างเป็นรูปธรรม
หลักสูตรนานาชาติ MA/PhD in Social and Sustainable Development (SSD) มีรายละเอียดหลักสูตรอย่างไรบ้าง
หลักสูตรเป็นเพียงแค่หนึ่งในความร่วมมือ และถูกขับเคลื่อนโดยโครงการความร่วมมือนี้ แต่ทั้งนี้นอกจากหลักสูตรแล้ว ยังมีนวัตกรรมที่เกิดขึ้นผ่านหลักสูตรหลายอย่าง เช่น การพูดคุยเจรจากันในรูปแบบ ONE to ONE Business Talk ซึ่งไม่เคยทำมาก่อนในคณะต่างๆ และเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ทำ โดยการนัดหมายกับสถาบันในอังกฤษมาพูดคุยตกลงกันว่าจะทำความร่วมมืออะไรบ้าง หลักสูตรนี้เองก็เป็นหนึ่งในนั้น นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนนิสิตการทำวิจัยร่วมกัน พัฒนาตัวนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ภายใต้โครงการนี้ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เรียกว่า “Blended Method” คือ การเรียนผ่านสื่อเทคโนโลยีออนไลน์โดยการเชื่อมเครือข่าย หลักสูตร Social and Sustainable Development (SSD) เพราะฉะนั้น จึงเป็นการเชื่อมเครือข่ายของพัฒนากร หรือนักพัฒนา หรือผู้บริหารการพัฒนา 3 ระดับ ถ้าเป็นผู้ปฏิบัติก็คือคนที่เป็นพัฒนากรทำงานในประเทศต่างๆทั่วโลก ผู้บริหารก็จะเป็นผู้ที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในระดับองค์กรในประเทศทั่วโลก ผู้กำหนดนโยบายก็จะเป็นผู้ที่ทำงานบริหารระดับสูงจากองค์กรต่างๆทั่วโลก เพราะฉะนั้นจึงไม่ได้เป็นแค่ระดับหลักสูตรอย่างเดียว จะเป็นระดับการเชื่อมเครือข่ายภายใต้การเรียนการสอนแบบ Blended Method ที่เน้นเรื่องเทคโนโลยี และ Active Learning ที่ให้โอกาสกับคนต่างๆ รวมทั้งอาจารย์ของมหาวิทยาลัยเข้ามาเป็นผู้ช่วยสอน และเชื่อมเครือข่ายกับผู้เรียนในต่างประเทศ หลักสูตรนี้ไม่ได้เป็นแค่หลักสูตรเฉพาะ แต่ไปเชื่อมกับ certificate ซึ่งเป็นลักษณะ Post Doc. การเรียนหลังปริญญาเอกด้วย หากผู้มาเรียนเข้ามาเรียนปริญญาโท หรือปริญญาเอกกับเราก็สามารถต่อในระดับ Post Doc. กับ Newcastle University ได้ด้วย ที่สำคัญในการเรียนสามารถได้เครือข่ายของคนทำงานระดับปฏิบัติการและระดับบริหารด้วย
หลักสูตรใหม่นี้ต่างจากที่อื่นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรบ้างกับผู้เรียน
ในโครงการที่เรียกว่า TNE นั้นแบ่งออกเป็น 2 เฟส เริ่มจาก เฟสที่ 1 คือ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งใน 17 สถาบันของไทยไปร่วม TNE Forum ที่ Westminster of University เป็นเจ้าภาพที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร จัดไปเมื่อปลายปี พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา มีกิจกรรมที่น่าสนใจหลายอย่าง คือ เป็นการจัด ONE to ONE Meeting ให้มหาวิทยาลัยนเรศวรได้พบกับมหาวิทยาลัยในอังกฤษที่มีอยู่ 4-5 มหาวิทยาลัยที่เข้ามาพูดคุยและพร้อมที่จะเปิด Link ความร่วมมือกันทั้งหลักสูตรแลกเปลี่ยนนิสิต แลกเปลี่ยนนักวิจัย เมื่อมหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งใน 17 สถาบัน เฟสที่ 2 คือ British Council และ สกอ. มีการให้ทุน Partnership Development Grant หรือที่เรียกว่า “ เงินทุนสำหรับพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในไทย กับ มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร” งบประมาณ 6,500 ปอนด์ (300,000 กว่าบาท) ซึ่งทุนนี้ไม่ได้เปิดกว้างสำหรับทุกมหาวิทยาลัย แต่จะเปิดให้แข่งขันใน 17 มหาวิทยาลัยที่คัดมาแล้ว และคัดเหลือเพียง 12 มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยนเรศวรก็ประสบความสำเร็จได้เป็นหนึ่งใน 12 มหาวิทยาลัยไทยที่ได้รับการคัดเลือก
สำหรับในเฟสที่ 2 สิ่งที่มหาวิทยาลัยจะทำในรอบ 10 เดือนใน ปี 2018 จะมีการทำ Work Shop โดยมีผู้แทนจากอังกฤษ คือ Newcastle University ที่เป็น Partner ของเรา ทั้งนี้จะคุยกันในรายละเอียดเนื่องจากความคาดหมายของโครงการต้องการให้สร้างหลักสูตรที่เป็น Joint-Degree หรือเป็น Double-Degree ก็ได้ แต่ทางมหาวิทยาลัยนเรศวรเลือกที่จะทำเป็น Joint-Degree ซึ่งคือการนำสองหลักสูตรของทั้งสองสถาบันมาเชื่อมกัน ฝ่ายของเราก็สร้างหลักสูตรใหม่ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก Social and Sustainable Development (การพัฒนาสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน) คือสิ่งที่เราจะไป Joint กับฝ่ายเขาที่จะเป็นหลักสูตร The Postgraduate Certificate in Social Research Training เป็นอีกหนึ่ง Degree ที่บ้านเราอาจจะไม่ค่อยคุ้นเท่าไหร่ ซึ่งเป็นประกาศณียบัตรชั้นสูงสำหรับนักวิจัยที่จบปริญญาเอกมาแล้วก็ได้ หรืออยู่ในระหว่างเรียนปริญญาโทก็ได้ แต่ถ้าสำเร็จระดับปริญญาตรียังเรียนหลักสูตรนี้ไม่ได้ ตัวประกาศนียบัตรชั้นสูงด้านการพัฒนาการวิจัยทางสังคมของ Newcastle University นั้นจะมีนวัตกรรมใหม่ ซึ่งทีมงานจาก Newcastle คิดค้นขึ้นมาโดยเรียกว่าวิธี “Blended” ซึ่งหมายความว่า “ผสมผสาน” Blended Method นั้นจะไม่ได้เป็นการเรียน E-Learning ที่ให้ผู้เรียนดูเนื้อหาจากอินเทอร์เน็ต นั่นคือแบบดั้งเดิม แต่แบบ “Blended Method” คือการผสาน Multimedia Content และการพูดคุยระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนแบบ Real time มีการสัมมนากันกับที่อื่นทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยหรืออังกฤษแต่อาจจะมีเป็นประเทศกำลังพัฒนาในทวีปอื่นๆ เพื่อนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้นเมื่อผู้เรียนเข้าสู่หลักสูตรนี้ และจบการศึกษาออกไปผู้เรียนจะรู้เลยว่าจะต้องไปทำงานที่ไหนได้บ้าง ใครเป็นเครือข่ายได้บ้าง พอเราเชื่อม 3 ระดับทั้งระดับปฏิบัติการ ระดับยุทธศาสตร์ และระดับบริหารเข้าด้วยกันในการพัฒนาสังคม นั่นหมายความว่า ผู้เรียนที่จบออกไปทำงานไม่ได้จำกัดอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
การบริหารจัดการหลักสูตร
เนื่องจากหลักสูตรนี้ค่อนข้างใหม่ “Blended Method” ของ Newcastle University ก็เพิ่งเริ่มใช้ 1-2 ปี และอีกส่วนหนึ่งของการสองปริญญา มา Joint นั้นก็อยู่ในการพัฒนาความร่วมมือในกรอบที่ใหญ่กว่านั้น คือทาง Newcastle University อยากจะให้ทางมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางที่จะช่วยดูแลตัว Project นี้ The Postgraduate Certificate in Social Research Training และใช้การเรียนการสอนแบบ “Blended Method” ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะฉะนั้นหากมีเพื่อนบ้านต้องการเรียน Project นี้ เขาจะต้องไปเรียนที่ Newcastle ซึ่งค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่หากเรียนแบบวิธีการ “Blended Method” โดยมีมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นฮับโดยการลงทะเบียนผ่านมหาวิทยาลัยนเรศวร ค่าใช้จ่ายถูกลง สามารถประหยัด และสามารถเข้ารับปริญญาซึ่งจัดพิธีที่ Newcastle University ได้ มีศักดิ์และสิทธิ์แบบเดียวกันทุนประการ สามารถสวมใส่ชุดครุยของ Newcastle University เข้ารับปริญญาได้ด้วย
จบการศึกษาสามารถเข้ารับปริญญาได้ทั้งมหาวิทยาลัยนเรศวร และ Newcastle University
เนื่องจากเป็นหลักสูตรนานาชาติ และทาง Newcastle University ก็มีความต้องการของเขาเอง หากผู้เรียนมีทักษะภาษาอังกฤษในระดับที่ Newcastle University กำหนดและสมัครเข้าเรียนในหลักสูตร MA/PhD in Social and Sustainable Development (SSD) เมื่อเรียนจบครบสำเร็จหลักสูตรก็จะได้รับปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยนเรศวร และ The Postgraduate Certificate in Social Research Training คือนอกจากจะได้รับปริญญาที่มหาวิทยาลัยนเรศวรแล้วก็จะได้รับปริญญาที่ Newcastle University อีกด้วย แต่หากภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่ Newcastle University กำหนดก็สามารถเรียนเฉพาะ Degree ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร แค่ตัดส่วนที่ Joint กับ Newcastle University ออกไป
อนึ่ง การปรับเกณฑ์ภาษาอังกฤษใหม่ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ทำให้นิสิตปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยนเรศวรได้ IELTS สูงเช่นกัน เพราะฉะนั้นก็ไม่เป็นปัญหาในการศึกษาต่อ เรามีทางเลือกให้กับนิสิต หากไม่ได้ IELTS มา แต่มีการเข้าเรียนอบรมในหลักสูตรที่บัณฑิตวิทยาลัยจัด และสอบให้ผ่านได้ตามเกณฑ์ของ Cambridge แต่ทางฝ่าย Newcastle University ขอมาว่าต้องเป็น IELTS เท่านั้น
มีการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานอย่างไร
หลักสูตรพัฒนาสังคม ก็จะมีระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก ระดับปริญญาตรีจะเน้นไปทางปฏิบัติเด็กที่จบไปก็จะเป็นพัฒนากร เป็นนักสังคมสงเคราะห์ เป็นผู้ให้คำปรึกษาอยู่ในกระบวนการยุติธรรม อาชญาวิทยา และที่เหลือก็จะทำงานองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ศูนย์อพยพ องค์กรมูลนิธิเด็ก UNICEF ส่วนระดับปริญญาโทจะทำด้านยุทธศาสตร์ ทำแบบแผน ประเมิน ซึ่งเป็นการประเมินการพัฒนานโยบายระดับใหญ่ที่เป็น เมกกะโปรเจคของรัฐ ระดับปริญญาเอกนั้นเป็นผู้ที่เขียนนโยบาย ประเมินนโยบาย ออกแบบนโยบาย แต่เรายังไม่ได้ทำหลักสูตรนานาชาติ แต่เมื่อเป็นหลักสูตรนานาชาติทุกอย่างที่เคยเรียนมาจะจำกัดอยู่ในภาษาไทย เพราะฉะนั้นเรากำลังชวนทั้งนิสิต และคนทำงานทำงานด้านพัฒนาทั้งหมดที่เป็นเครือข่ายในระดับโลกออกไปเรียนรู้ร่วมกันว่าประเทศอื่นๆในโลกเขาทำอย่างไร แก้ปัญหาอย่างไร เราเชื่อว่าหลักสูตรนี้จะมาอุดช่องว่างในเรื่องของการพัฒนาที่ได้เรียนรู้จากประเทศต่างๆทั่วโลก
ลักษณะสำคัญของหลักสูตรในการบริหารก็ต้องพูดถึงเพราะหลักสูตรอื่นๆ จะไปหาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. แต่หลักสูตรของเรานี้มีความใหม่เกิดขึ้น เราเรียกว่า “คณะกรรมการบริหารความร่วมมือ” กับมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักร ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มาจากรัฐศาสตร์ มาจากจิตวิทยา อาจารย์บางท่านมาจาก Southeast Asian Studies จากกลุ่มที่เป็นประวัติศาสตร์ ที่จะมาบริหารความร่วมมือให้หลักสูตร Sustainable Development ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่จบทางด้านสังคมวิทยา หรือมานุษยวิทยาเท่านั้น แต่จะขยายภาพที่กว้างขึ้น ซึ่งการทำงานลักษณะนี้ไม่ง่ายทุกคนต้องเปิดใจกว้าง เพราะฉะนั้นกระบวนการเป็นวิธีการแบบใหม่ มันไม่ใช่สหสาขาวิชาในเนื้อหาเท่านั้น แต่การบริหารแบบสหสาขาวิชาทำให้เราเห็นกว้างขึ้นเป็นความคิดที่แตกต่างเชื่อว่านี่เป็นลักษณะเด่นของตัวหลักสูตรนี้ และเนื่องจากหลักสูตรเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาความร่วมมือข้ามชาติกับ British Council ดังนั้นด้วย Link ที่เราไปเปิดตอนที่เราไป Forums ที่ประเทศอังกฤษก็ดี ร่วมถึง Partner ทางวิชาการที่เรามีอยู่เดิมก็ดีจะช่วยเสริมกันในการทำให้โอกาส เช่น การที่นิสิตลงเรียนในวิชา “ว่าด้วยการพัฒนาภูมิภาคศึกษาอย่างยั่งยืน” ด้วยเครือข่ายที่เรามีอยู่เป็นไปได้สูงมากจะส่งเด็กของเราที่เรียนในหลักสูตร ไป Fell Trip จะกี่สัปดาห์ หรือกี่เดือนก็เป็นสิ่งที่จะคุยกันอีกทีหนึ่งในเครือข่ายที่มีอยู่ทั่วโลก ส่วน Funding ก็ต้องคุยในรายละเอียดอีกทีหนึ่ง ก็จะพาเขาไปดูนอกเหนือจากที่เรียนในทางทฤษฎีไปแล้วนั้นก็ไปดูในเชิงเปรียบเทียบในพื้นที่จริงซึ่งไม่ใช่แค่ไทยเป็นเป้าหมายที่เป็น Global
ฝากทิ้งท้ายเชิญชวนผู้สนใจศึกษาต่อ
โลกเปลี่ยนไปแล้วเพราะฉะนั้นการเรียนรู้คงไม่ใช่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อยากเชิญชวนสำหรับผู้ที่ต้องไปมากกว่าการเรียนรู้แบบเดิม เข้ามาเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบใหม่ที่เรียกว่า “Blended Method” สอบถามรายละเอียดหลักสูตรได้ที่ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เบอร์โทรศัพท์ 0 5596 1920 ในวันและเวลาราชการ
—————————————-
News : 255