Direct Listing การระดมทุนรูปแบบใหม่ของสตาร์ทอัพ

      วงเดือนมิถุนายน 2562 Slack Technologies, Inc. บริษัทสตาร์ทอัพชื่อดังผู้ให้บริการ Platform ด้านการสื่อสารภายในองค์กร ได้นำหุ้นของบริษัทเข้าตลาดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ด้วยรูปแบบ Direct Listing หรือการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยไม่มีการเสนอขายหุ้นใหม่ให้แก่สาธารณะ 

      กรณีของ Slack ไม่ใช่ครั้งแรก ในปี 2561 บริษัท Spotify Technology หรือผู้ให้บริการเพลงแบบสตรีมมิ่งชื่อดัง สัญชาติสวีเดน ได้นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วยวิธี Direct Listing ครั้งแรก และกำลังเป็นวิธีการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ที่ได้นับความสนใจจากบริษัทสตาร์ทอัพชื่อดังเป็นอย่างมาก เช่น Airbnb ผู้พัฒนา Platform การแชร์ห้องพักอาศัย กำลังพิจารณานำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ด้วยวิธี Direct Listing ด้วยเช่นกัน 

      ข้อแตกต่างระหว่างรูปแบบการระดมทุนแบบ Initial public offering หรือ IPO เดิม ที่มีการเสนอขายหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ประชาชน กับ Direct Listing สามารถสรุปได้ดังนี้ 

      ผลประโยชน์หนึ่งที่จูงใจให้บริษัทสตาร์ทอัพหันมาให้ความสนใจคือค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งลดจาก 7% ของมูลค่าการระดมทุนเหลือเพียง 2% เท่านั้น 

      อย่างไรก็ดีนักลงทุนอาจเผชิญกับความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของราคาหุ้น และการเทขายของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทได้ เนื่องจากไม่มีผู้จัดการการจัดจำหน่าย (Underwriter) ทำหน้าที่กำหนดราคาให้มีมาตรฐาน และไม่มีการกำหนดช่วงเวลาการห้ามขายหุ้น (Silent Period) ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม ทั้งนี้การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นจะถูกกำหนดด้วยความต้องการของนักลงทุนในตลาด 

 

ชนพล พรพิกุลบทความ
ธิติ สิงห์คง: Infographic

 

References
     – 
https://www.washingtonpost.com/business/what-a-direct-listingis-and-why-banks-are-nervous/2019/06/19/c75fa2b8-92a5-11e9-956a-88c291ab5c38_story.html
     – 
https://www.ft.com/content/8d3dc756-759d-11e9-bbad-7c18c0ea0201
     – 
https://www.cnbc.com/2018/04/03/spotify-spot-ipo-stock-starts-trading-on-the-nyse.html
     – 
https://www.investopedia.com/investing/difference-between-ipo-and-direct-listing/
     – 
https://brandinside.asia/opinion-direct-listing/ 

 

 

Loading

แชร์รายการนี้
fb-share-icon