โลกกับเทคโนโลยี
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทกับสังคมเป็นอย่างมาก นอกจากจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ และเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานมากขึ้น นับเป็นกลไกที่สำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนาของโลก ท่ามกลางยุคแห่งเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา รวมถึงด้านนวัตกรรม ที่ถูกพัฒนาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งเราจะได้เห็นความสร้างสรรค์ใหม่ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาต่อไปได้อีกในอนาคตไม่รู้จบ
มน. รับมือ
มหาวิทยาลัยนเรศวรในฐานะมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ได้จัดการองค์ความรู้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัยอย่างเข้มแข็ง รวมถึงการเตรียมความพร้อม (รับมือ) ต่อการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วทั้งในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อให้สามารถตั้งรับและพร้อมปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาในทุกมิติของสังคม
GPS
GPS เครื่องรับสัญญาณจากระบบระบุพิกัดพื้นโลกด้วยดาวเทียม (เครื่องรับ GPS) อุปกรณ์ระบุตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม อาศัยระบบดาวเทียมที่เรียกว่า Global Navigation ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะมักจะเรียกอุปกรณ์ระบุตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (หรือ อุปกรณ์ GNSS) ว่าอุปกรณ์ GPS ซึ่งมีขนาดเล็กและใช้งานได้อย่างแพร่หลาย ในปัจจุบันระบบ GNSS ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลกมีอยู่ 4 ระบบ ได้แก่ GPS โดยประเทศอเมริกา GLONASS โดยประเทศรัสเซีย BEIDOU โดยประเทศจีน และ Galileo โดยกลุ่มประเทศยุโรป (EU)
ปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเสริมทักษะการอ่านแผนที่ และหาเป้าหมาย ให้ง่ายและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เปรียบเสมือนผู้ช่วย เช่นงานสำรวจ การทำแผนที่ และอื่นๆ โดยทั่วไปความถูกต้องของตำแหน่งพิกัดบนอุปกรณ์ GNSS อยู่ที่ประมาณ 5-10 เมตร ซึ่งเพียงพอสำหรับการระบุตำแหน่งในแอปพลิเคชันส่วนใหญ่ มีปัญหาความคลาดเคลื่อนซึ่งเป็นสาเหตุของความน่าเชื่อถือ ล่าช้า และอาจเกิดข้อพิพาทตามมา ทำให้ข้อมูลไม่สามารถอ้างอิงได้ เช่น ความเคลาดเคลื่อนสะสม ทำให้ไม่มีค่าพิกัดในพื้นที่ทับซ้อนในระวางแผนที่ อีกทั้งยังมีราคาต้นทุนสูง จึงยากที่จะนำมาใช้อย่างทั่วถึง
มาเป็น RTK GNSS High quality & Low cost
(แต่) สำหรับการใช้งานเฉพาะด้านนั้น เช่น งานสำรวจ การทำแผนที่ เป็นต้น หรือบางแอปพลิเคชันที่ต้องการความถูกต้องของตำแหน่งสูง(ต้องการความแม่นยำสูง) ในระดับเซนติเมตร เช่น autonomous vehicle หรือติดตามตำแหน่งการเคลื่อนไหวของนักกีฬาในสนาม เป็นต้น จะไม่มีปัญหาอีกต่อไป
สำหรับครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล , Dr. Antony Harfield, นายประเสริฐ เวียงสุขไพบูลย์ จากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับองค์กรภาคเอกชน (และบริษัท แนคคร่า ไมโครเทค จำกัด) ร่วมมือกันสร้างโครงการวิจัยเกี่ยวกับอุปกรณ์รับสัญญาณจีเอ็นเอสเอส ที่สามารถตอบสนองกปัญหาความคลาดเคลื่อน แม่นยำ และราคาแพงของอุปกรณ์ได้ และสามารถพัฒนาอุปกรณ์หาค่าพิกัดความถูกต้อง ได้ดีกว่า 1 เมตร หรือ 1-2 เซนติเมตรได้เองภายในประเทศ พร้อมระบบควบคุม บริการข้อมุลและการประยุกต์ใช้งาน
จากการพัฒนา GNSS to Low-cost RTK GNSS receiver ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยการหาพิกัดอย่างถูกต้อง แม่นยำ จากในระดับ 5-10 เมตร ละเอียดขึ้นเป็น 1-2 เซนติเมตร ด้วยราคาที่ถูกลงประมาณเท่าตัว อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้งานกับ Unmanned aerial vehicle , Precise agriculture , Autonomous car , Land Deformation System ซึ่งในส่วนของอุปกรณ์ผู้วิจัยได้พัฒนาชขุดบอร์ดดอิเล็กทรอนิกส์รับสัญญาณ GNSS เพื่อประมวลแลแบบ RTK โดย ตั้งชื่อว่า “พันธุ์ไทย” หรือ “Pantai” ซึ่งพัฒนาโดยใช้ชิพรับสัญญาณของ U-Blox
มี 2 รูปแบบ คือ platform “ Pantai RTK Base Station (PRB)” สำหรับการใช้งาน Outdoor และ Developer Kit “Pantai RTK Module (PRM)” สำหรับนำไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น Drone and lot device หรือ ใช้เก็บพิกัดเพื่อสำรวจหรือติดตั้งกับยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ
ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการติดตั้งตู้ PRB ที่อาคารคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 1 ตู้ และได้ติด PRM กับรถไฟฟ้ามหาวิทยาลัย ที่หมด 8 คัน เพื่อทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ Pantai รวมถึงควบคุมการทำงาน
ในส่วนของซอฟแวร์ ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบศุนย์กลางควบคุมการทำงานบนคลาวด์ เรียกว่า RTK Control Centre ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างอุปกรณ์ Pantai กับผู้ใช้งาน โดยจะส่งข้อมูลพิกัดและสื่อสารกับระบบศูนย์กลางควบคุมผ่านอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูลพิกัดและควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ได้ผ่านหน้าเว็บแอปพลิเคชัน RTK Control Centre นี้ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ได้แก่ NodeJS และระบบคลาวด์แพลตฟอร์มของ Google ที่มีบริการฐานข้อมูลเรียลไทม์ Firebase สำรองรับอุปกรณ์และข้อมูลพิกัดที่จะเพิ่มเข้าสู่ระบบปริมาณมากในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในโครงการนี้ได้พัฒนาฟีเจอร์เพิ่มเติมในแอปพลิเคชัน Naresuan University บนระบบปฏิบัติการ ios เพื่อแสดงตำแหน่งปัจจุบันของรถไฟฟ้าทั้ง 8 คัน แบบเรียลไทม์