5 จังหวัดร่วมขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคเหนือตอนล่าง 1

เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2563 ที่ห้อง 209 ชั้น2  อาคารเอกาทศรถ มหาวิทยาลัยนเรศวร  ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้อำนวยการภารกิจ การจัดทำแผนงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นประธานการประชุมเรื่อง “การขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษ ภาคเหนือตอนล่าง 1 ” โดยมี นายเกษมสันต์ มีทิพย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล แบบบัญชีรายชื่อพิษณุโลก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรธร บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร นายวุฒิชัย โรจน์ทิพยรักษ์  ประธาน LIMEC ประเทศไทย  พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สกสว. มหาวิทยาลัยนเรศวร สส. นายก อบจ. สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์

ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้อำนวยการภารกิจ การจัดทำแผนงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)  กล่าวว่า ในนามของสกสว. ได้งบประมาณเข้ามาจำนวนเงิน 5 ล้านบาทซึ่งต้องเกิดจากการระดมการทำงานจากภาควิชาการหลากหลายสาขาและทำให้เป็นพื้นฐานภายใน 8 เดือนของงบประมาณปี 63 ซึ่งหากมีงบประมาณปี 64 ก็จะได้เงินสนับสนุนเข้ามาเพิ่มเติมอีก ทั้งนี้สกสว.ยินดีให้การต้อนรับและพร้อมสนับสนุนเต็มที่

นายฐิติ  วิศวชัยวัฒน์  ตัวแทนหอการค้า จ.พิษณุโลก  กล่าวว่า  มีภาคเอกชน ภาคการศึกษา ในส่วนของ LIMEC ซึ่งสิ่งที่เรากำลังมุ่งไปถึงการสร้างเขตพัฒนาพิเศษ ให้มีความแหลมคมทางด้านเกษตรกร อาหารให้เกิดความปลอดภัยและกระจายไปอยู่ในประชาชนมากที่สุด แต่ทั้งนี้ภาคกิจกรรมที่ LIMEC ทำเดิมอยู่แล้วค่อนข้างจะครอบคลุม แต่ในส่วนของการตั้งคณะกรรมการพัฒนาดังกล่าวต้องมีการตั้งและดึงหน่วยงานภาคท้องถิ่นเข้ามาเพราะทำงานใกล้ชิดกับประชาชน ทั้งนี้ก่อนอื่นจะถึงขั้นตอนการร่าง พรบ.ได้อย่างไร ต้องทำให้เห็นก่อนว่าจุดแข็งในภาค 5 จังหวัดว่าผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นคืออะไร ให้มีความแหลมคมมากขึ้น ซึ่งภาคเกษตรหรือภาคอาหารหากมองว่าเป็นมุมมองเชิงปัญหาแต่ถ้าหากเรามองกลับด้านจุดแข็ง เราต้องนำมาคิดว่า อะไรเป็นจุดแข็งที่เรามี เราควรทำให้เกิดความชัดเจนกันมาก อะไรที่อยากเห็น อะไรที่อยากจะเป็น โดยต้องตอบประเด็นนี้ให้ได้ก่อน ทั้งนี้การตั้งคณะกรรมการไม่ใช่เรื่องใหญ่ ต้องโฟกัสว่าทิศทางที่เรามองตอนนี้ คืออะไร ทำไม อย่างไร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีรธร บุณยรัตพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่าในกรณีพื้นที่ภาคเหนือ จะยากในส่วนของการผลักดัน ซึ่งรัฐจะมองถึงการลงทุน การคุ้มค่าทางด้านการลงทุน ซึ่งโจทย์การทำ ต้องมีความชัดเจน ทั้งนี้ก็มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง พื้นที่ภาคเหนือมีศักยภาพอยู่ แต่มีผลเรื่องของการยากจนและEconomic gross ยังต่ำอยู่ ทั้งนี้เราควรจะมองว่า พื้นที่พิเศษภาคเหนือตอนล่าง 1  ดังกล่าวเราควรจะทำอะไร แล้วนำเอาข้อมูลใส่ลงไป และเรื่องของ Bio economy เป็นเรื่องหลักของพื้นที่โดยในด้านการยกระดับสินค้าแปรรูปไปที่ประเทศเพื่อนบ้านต้องการ ทำให้เขาเกิดความต้องการ ซึ่งการทำแผนพัฒนาต้องทำเป็นสองส่วนคือ ผลักดันเครื่องมือให้เกิด สองคือสร้างคอนเท้นต์ให้ตอบโจทย์กับเครื่องมือในประเด็นที่ 1 เพื่อให้สอดคล้องและชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งที่ต้องมีความชัดเจนก็คือ เรื่องของเวลา ที่เราต้องการเมื่อไหร่ อย่างไรบ้าง ซึ่งปี 2565 มีความสำคัญที่ต้องผลักดันเชื่อมโยงประเด็นดังกล่าวไปอยู่ในแผนอย่างไรให้ได้ หากจะผลักดันก็ต้องมาถึงเรื่องของความมั่นคง ทำความเข้าใจกับฝ่ายรัฐบาลให้มากขึ้น นำเงินลงทุนเข้ามาพัฒนาใน 5 จังหวัด ต้องนำจุดเด่นนี้เข้ามาพัฒนา  การทำเขตพัฒนาพิเศษ ไม่ได้ทำเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งในประเด็นดังกล่าวนี้ จะให้เกิดในพื้นที่ให้ได้อย่างไร

นายวุฒิชัย โรจน์ทิพยรักษ์  ประธาน LIMEC ประเทศไทย  กล่าวว่า ประเด็นการทำเขตพัฒนาพิเศษ หากสามารถทำได้ จะได้ความใส่ใจในการทำงานและเชื่อมโยงกับ LIMEC มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาการพยายามทำโดยไม่มีรูปแบบทำให้เกิดยาก ทั้งนี้ในประเด็นที่กำลังจะผลักดันก็มีความคิดเห็นที่จะสนับสนุนให้เกิดเมือง Smart City พร้อมต่อการค้าการลงทุนที่ไม่ใช่เมืองเชิงอุตสาหกรรม ให้เกิดเมืองที่น่าอยู่สังคมมีความสุข ในแง่ของการขับเคลื่อนมีความคิดเห็นอยากให้ใช้ศาสตร์การนำเชิงเกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพและสอดคล้องกับการท่องเที่ยว ทั้งนี้อยากต้องการและช่วยผลักดันให้ตอบโจทย์เพื่อให้เกิดศักยภาพทางสังคม

 

 

Loading

แชร์รายการนี้
fb-share-icon