“บุหรี่ไฟฟ้าภัยคุกคามหลัง COVID – 19” การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพภาคเหนือ ครั้งที่ 3

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 ณ ห้องประชุม วนธารา รีสอร์ท อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก หน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบภาคเหนือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 – 3 โดยได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ในการดำเนินโครงการพัฒนาและสนับสนุนการวิจัยและวิชาการ ขับเคลื่อนนโยบายควบคุมยาสูบภาคเหนือ จัดการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพภาคเหนือ ครั้งที่ 3 :
บุหรี่ไฟฟ้าภัยคุกคามหลัง COVID – 19 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักวิจัยและวิชาการ ด้านการควบคุมยาสูบภาคเหนือ ร่วมกันแลกเปลี่ยน และเรียนรู้การดำเนินงานวิจัยด้านการควบคุมยาสูบในเขตภาคเหนือ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID – 19

สำหรับการประชุมวิชาการฯ ดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ยุทธพงศ์ พุทธรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ให้เกียรติกล่าวเปิดการประชุมวิชาการฯ

นอกจากนั้น ได้มีการจัดพิธีมอบรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นด้านการควบคุมยาสูบระดับภาคเหนือ การบรรยายวิชาการ หัวข้อ “บุหรี่ไฟฟ้าภัยคุกคามหลัง Covid – 19” โดย ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.), การบรรยายวิชาการ หัวข้อ “ติดบุหรี่ ติด Covid – 19 เสี่ยงตายสูง” โดย ดร.วศิน พิพัฒนฉัตร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศจย. และนำเสนอการถอดบทเรียน “ความสำเร็จ และความท้าทายในการควบคุมยาสูบในบริบทชุมชนภาคเหนือ” โดย ผศ.ดร.จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการ ด้านการควบคุมยาสูบภาคเหนือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

รวมถึงการประชุมวิชาการฯ ดังกล่าว มีการนำเสนอโปสเตอร์ผลการวิจัยควบคุมยาสูบภาคเหนือ 12 เรื่อง การนำเสนอผลงานวิจัยดีเด่นด้านการควบคุมยาสูบระดับภาคเหนือ “Best practice จาก 3 ชุมชนต้นแบบ” ได้แก่

ชุมชนลานดอกไม้ อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

 

ชุมชนไทรย้อย อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก

 

ชุมชนศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน

 

รวมถึงภายในงานมีตัวแทนพี่น้องเกษตรกร (อดีตชาวไร่ยาสูบ) มาถ่ายทอดบทเรียนและจำหน่ายผลผลิตจากพืชทางเลือกที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน จากชุมชนบ้านติ้ว อำเภอหล่อสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ อีกด้วย

 

 

 

 

Loading

แชร์รายการนี้
fb-share-icon