อาจารย์ด้านระบาดวิทยา คณะสาธาฯ มน. ชวนมองโรค กับสิ่งที่ท้าท้ายของนักสาธารณสุข 

    ทีมข่าวของสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร มน. F.M.107.25 MHz “วิทยุเพื่อการศึกษา สร้างปัญญาสู่มวลชน” ได้มีโอกาสขอความรู้จาก อาจารย์สมเกียรติ ศรประสิทธิ์ รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและเครือข่ายสัมพันธ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านระบาดวิทยา มองเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นในขณะนี้เป็นอย่างไร มีความท้าท้ายต่อการเรียนการสอนเพื่อผลิตนักสาธารณสุขของไทยเราอย่างไรบ้าง มาติดตามกันเลย 

    คำถาม จากสถานการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นตอนนี้ ในมุมของอาจารย์ด้านระบาดวิทยาคิดว่า น่าจะมีในส่วนใดที่เราควรจะมาเรียนรู้ หรือถอดบทเรียนในลักษณะใดได้บ้าง 

    ในมุมของระบาดวิทยา โรคที่เกิดขึ้นตอนนี้เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ก็เหมือนกับโรคอื่น   ที่เราเคยรู้จักในช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นโรคอีโบล่า โรคไข้หวัดนก โรคซาร์ส โรคเมอร์ส โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ได้ 

    ปัจจัยหนึ่งเกิดจากธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือว่าแม้แต่เรื่องของการกระทำของมนุษย์เองที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเรื่องของการที่เกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อม การทำลายป่าแล้วระบบนิเวศเสียไป ภาวะโลกร้อน และสิ่งมีชีวิตทุกตัวก็เกิดการปรับตัว อาจจะมีผลต่อตัวเชื้อโรคหรือตัวสัตว์พาหะ เชื้อที่ไม่เคยก่อโรคก็กลายเป็นเชื้อก่อโรคได้ เชื้อที่เราเคยใช้ยาคุมมันได้ ฆ่ามันได้ เดี๋ยวนี้ก็ดื้อยา  

    แม้แต่พาหะบางชนิดที่นำเชื้อมาสู่เราเขาก็ดื้อยา ยกตัวอย่าง ยุงที่เกี่ยวกับไข้เลือดออก ยุงในหลาย  พื้นที่ที่เริ่มดื้อยาฆ่ายุงแล้ว ดังนั้น ตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราจะต้องมาทบทวนมาถอดบทเรียนกัน หรือแม้แต่เรื่องเกี่ยวกับยุคของโลกาภิวัตน์ การเดินทาง เรื่องเศรษฐกิจ การขนส่งต่าง  การเปลี่ยนแปลงของประชากร สังคมผู้สูงอายุที่มีความเสียงต่อความต้านทานของโรคต่ำ พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยน การเคลื่อนย้าย พฤติกรรมการบริโภค บริโภคอาหารแปลก  โดยเฉพาะอาหารป่า ที่นำมารับประทานหรือว่าด้วยความเชื่อ เหล่านี้เป็นส่วนนึงที่เราจะต้องมานั่งทบทวนหรือถอดบทเรียนกันต่อไป” 

    คำถาม จากสถานการณ์ของโรคที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ท้าทายในการเรียนการสอน หรือการที่จะผลิตบัณฑิตให้เป็นนักสาธารณสุข มากน้อยเพียงใด  

    ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมากในโลกปัจจุบัน ในการเรียนการสอนเรื่องของระบาดวิทยาในคณะสาธารณสุขศาสตร์ จะเน้นไปที่การป้องกันโรคไม่ให้เกิดโรคที่เอาหลักระบาดวิทยามาประยุกต์ใช้ มุ่งเน้นที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับนิสิตเกี่ยวกับแนวคิดและทฤษฎีทางระบาดวิทยา โรคปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นเรียกว่าอะไร เป็นความปกติหรือมีความผิดปกติ โรคที่เกิดขึ้นมเกิดขึ้นกับใคร ซึ่งใครในที่นี้หมายความว่า ผู้ชาย ผู้หญิง อายุเท่าไหร่ อาชีพอะไร แล้วก็นอกจากเกิดกับใครแล้วก็เกิดที่ไหน บางโรคมันไม่ได้เกิดขึ้นเหมือนกันทั่วโลกหรือแม้แต่ประเทศไทย ในแต่ละจังหวัดการเกิดโรคก็แตกต่างกันออกไป แล้วเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ช่วงเวลาไหน ซึ่งตรงนี้จะเป็นตัวบอกว่า โรคนั้นน่าจะมีความเสี่ยงกับใคร บริเวณตรงไหน และช่วงเวลาใด ซึ่งจะทำให้เราคิดถึงว่าอะไรที่ทำให้เกิดเป็นแบบนั้น ทำไมต้องเป็นในเด็ก ทำไมต้องเป็นในผู้หญิง ทำไมต้องเป็นในภาคเหนือ ทำมต้องเป็นช่วงฤดูฝนหรือช่วงฤดูหนาว ซึ่งตรงนี้จะทำให้เราคิดออกว่ามันมีปัจจัยอะไรสนับสนุน หรือว่ามนุษย์เรามีปัจจัยเสี่ยงอะไรที่เข้าไปสัมผัสในช่วงเวลานั้น ในที่ที่แห่งนั้นก็จะทำให้เรารู้ถึงสาเหตุและที่มา 

    หลังจากนิสิตได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้แล้ว ก็นำไปประยุกต์ใช้ วิธีการประยุกต์ใช้ก็คือ การสังเกตด้วยการ เก็บข้อมูลโรคต่าง  ที่เกิดขึ้นในบ้านเรา หรือต่างประเทศก็ได้ เพื่อดูว่ารูปแบบของมันโรคส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับใคร
ที่ไหนอย่างไรบ้าง ซึ่งก็เป็นธรรมชาติของโรคที่เกิดขึ้น อย่างเราเฝ้าระวังไปเรื่อย  ว่ามันจะมีการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น กรณีไข้เลือดออกประจำถิ่นบ้านเรา ปกติเรารู้ว่าจะเกิดฤดูฝนบางครั้งมันเกิดต้นปีเลย บางครั้งมันเกิดปลายปีหรือว่าเราพบในเด็ก แต่เดี๋ยวนี้พบในวัยรุ่นและเป็นในผู้ใหญ่มากขึ้น หรือว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่เป็นตัวกำหนดทำให้มันเป็นไปอย่างนั้น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างแล้วมีการแสดงถึงความผิดปกติ 
ซึ่งเราเรียกว่าเป็นการระบาด คำว่า “ระบาด” คือ ระบาดแบบที่จำนวนเยอะขึ้นหรือมีการเปลี่ยนรูปแบบ มันเปลี่ยนไปก็จะต้องมีกระบวนการลงไปเก็บข้อมูลเชิงลึก ก็คือการสอบสวนโรค เป็นต้น 

    คำถาม ในฐานะที่ท่านอาจารย์ก็เป็นอาจารยสอน ดูแลนิสิตที่จบทางด้านสาธารณสุขกันมาอยู่หลายรุ่น จากสิ่งที่มันเกิดขึ้นตอนนี้เกิดโรคระบาดต่าง  ขึ้น มีสิ่งใดที่อยากกระตุ้นเตือนให้คิดถึงหลักสำคัญทางด้านระบาดวิทยาในการป้องกันโรคบ้างหรือไม่ อย่างไร 

    อยากจะฝากว่า ก็มี 2 กลุ่มที่สำคัญ  ก็เป็นบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ซึ่งก็เชื่อว่าบุคลากร ด้านสาธารณสุขไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหนก็ตามก็เป็นผู้รู้อยู่แล้ว กล่าวคือ รู้ทางด้านโรค รู้ทางด้านการป้องกันต่าง มากกว่าประชาชนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่อยากจะฝากไปก็คื เรื่องเกี่ยวกับการติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่เป็นภาครัฐ การเผยแพร่ข้อมูลจากบุคลากรกันเองสู่ประชาชนด้วย ก็อยากให้ระมัดระวังแต่ว่าก็สื่อสารแบบตรงไปตรงมา แล้วก็โดยเฉพาะในเรื่องของการคุย การสื่อสารควรมีความชัดเจนง่ายต่อความเข้าใจต่อประชาชน เพราะความกังวลคือเรื่องของความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน ความเข้าใจที่ไม่ครบถ้วนจะสร้างความกังวลหรือความตื่นตระหนกมาก  

    สำหรับตัวประชาชนเองก็เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งในการติดตามข้อมูลโดยเฉพาะสื่อของภาครัฐตรงนี้เป็นข้อมูลที่ยืนยันแล้วถูกต้อง เรื่องของความชัวร์ก่อนแชร์ถ้ามีข้อมูลที่เราได้รับมาจากแหล่งต่าง  ที่ไม่มีการอ้างอิงหรือเราคิดแล้วว่าไม่ใช่เราก็ไม่ควรแชรหรือส่งต่อ โดยทั่วไปก็คือการดูแลสุขภาพร่างกายของเราปกติแข็งแรงอยู่เสมอการรับประทานอาหารที่สะอาดไม่กินของสุก  ดิบ  หรือของดิบ  ของแปลก  จำพวกเปิบพิสดาร อาหารป่า สัตว์ป่า ไม่ควรเลย ในช่วงนี้ควรจะล้างมือบ่อย  โดยเฉพาะคนที่ต้องออกไปข้างนอกก็ต้องล้างบ่อย
 

    หากมีไข้หรือช่วงนี้เราเป็นหวัด เจ็บคอ ก็ควรจะไปพบแพทย์ แต่ก่อนที่จะไปพบแพทย์เราก็ใส่แมสเพื่อ เป็นการป้องกันไม่ทำให้เราไปแพร่เชื้อด้วย สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง คือคนที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงอายุหรือว่าเด็กเล็ก ๆ ในระหว่างนี้ก็ควรหลีกเลี่ยงการไปในที่สาธารณะเพราะก็ไม่ทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้น กรณีหวัดทั่วไป เรารักษาสุขภาพเราไว้ก่อน อย่างอื่น  เลย ก็คือการติดตามข้อมูลเป็นสิ่งดีที่สุดเพราะเรื่องของโรคระบาดโดยเฉพาะโรคใหม่มันมักจะก่อความตื่นตระนกอยู่แล้ว สร้างความกังวลใจอยู่แล้ว ตรงนี้เราต้องตั้งสติและช่วยกันทำความเข้าใจช่วยกันสื่อสาร 

Loading

แชร์รายการนี้
fb-share-icon