อธิการบดีม.นเรศวรให้สัมภาษณ์เชิงลึกด้านนโยบายยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านอุดมศึกษาต่างประเทศและการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มอาเซียน 

       เมื่อวันที่  3 มิถุนายน  2562 ณ ห้องรับรอง ชั้น  2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนเรศวร  ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี  อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวรให้การต้อนรับ ดร.อังคณา กมลเพ็ชร์ ,นางสาวสุพัตรา โพธิ์เที่ยง นักวิจัยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ Prof DrTakao  Kamibeppu Vice Dean College of Urban Management Fukuyama City University , Hiroshima, Japan  ในโอกาสเข้าพบและสัมภาษณ์เชิงลึกด้านนโยบายยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านอุดมศึกษาต่างประเทศและการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มอาเซียน ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การเคลื่อนย้ายของนักศึกษาข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับนโยบายความเป็นนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทย กรณีศึกษานักศึกษาจากมียนมาร์ 

       ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กาญจนา เงารังษี  อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านอุดมศึกษาต่างประเทศ และการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือว่า  มหาวิทยาลัยนเรศวรมีบทบาทสำคัญด้านการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือด้านการศึกษา การวิจัย และการแลกเปลี่ยน (Mobility) ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ตลอดจนการผลักดันให้เกิดการบูรณาการทางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอันก่อให้เกิดการพัฒนาด้านเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์และนวัตกรรม ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ (Area-Based Approach) โดยได้เน้นการให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในด้านต่างๆ ดังนี้

       1. การปลูกสมุนไพรเพื่อสุขภาพ (Food Health Herbs)

       2. แนวคิดโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Logistic and Supply Chain)

       3. การท่องเที่ยวเชิงนิเวศวิทยาและประวัติศาสตร์ (Ecology and Historical Tourism)

       4. การใช้พลังงานทางเลือก (Alternative Energy)

       5. การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนิสิต (Mobility of Staff and Students)

       6. การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลาย (Multi-disciplinary Program)

       7. การสร้างความร่วมมือกับองค์กรต่างประเทศ สถานทูตต่างๆ และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
          (Cooperation with International Partners, Embassies, and TICA)

       8การพัฒนาหลักสูตรนอกห้องเรียนให้รองรับทั้งนิสิตไทยและนิสิตต่างชาติ  

       นอกจากนี้ นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรต้องมีศักยภาพในการใช้ภาษา 4 ภาษา คือภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาที่สาม และภาษาคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการเป็นพลเมืองโลก (Global Citizens) ต่อไป 

 

 

 

 

 

Loading

แชร์รายการนี้
fb-share-icon