ร้านขนม นมเนย เตรียมตัวให้พร้อม ปรับสูตรความอร่อย ต้อนรับปีใหม่ 2562 

 

หลังจากได้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการ เติมไฮโดรเจนบางส่วนหรือว่าไขมันทรานส์ แล้วก็มีไขมันทรานส์เป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่ายนั้น เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่หรือไม่ และการออกประกาศดังกล่าวน่าจะส่งผลกระทบ ในภาคส่วนไหนกันบ้าง ติดตามได้ในรู้ทันไขมันทรานส์ ตอนที่ 1 

รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ศรีจำเริญ อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร  คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ข้อมูลว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องดี เป็นประกาศที่นักวิชาการรอกันมานาน ทั้งทางด้านแพทย์ สาธารณสุข ทางด้านโภชนาการ  รอกันมานาน ประเทศไทยเตรียมเรื่องนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 ค่อยๆ เดินมาไม่ให้ตื่นกลัวมาก แต่ตอนนี้ที่เราต้องมาประกาศ แล้วก็จะมีผลใน 180 วัน ซึ่งก็จะตกประมาณเดือนมกราคม 2562 เป็นประกาศที่ห้ามนำเข้ามาในประเทศไทย แล้วในไทยก็ต้องห้ามมีสินค้าที่เป็นน้ำมันพืช แล้วดัดแปลงให้เติมไฮโดรเจนบางส่วน  

อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่เติมไฮโดรเจนบางส่วนมันก็จะเกิดเหตุว่า ตัวไฮโดรเจนมันจะขวางกันกับคาร์บอน เลยเรียกว่าเป็นไขมันทรานส์ จะก็มีผลใน 180 วัน แต่ถามว่าทางประกาศของกระทรวงสาธารณสุขเขาอยู่ดีๆ บุ่มบ่ามไหม ก็ไม่ได้ทำบุ่มบ่าม เขาไปเตรียมผู้ผลิตไว้ตั้งนานแล้ว ผู้ผลิตบริษัทใหญ่ๆ ที่มีฐานอยู่ต่างประเทศ เขาก็เตรียมมานาน จึงไม่มีผลกระทบ ผู้ผลิตที่เป็นระดับกลาง กลุ่ม SME บางบริษัทเขาก็เตรียมการแล้ว ปรับปรุงสูตรขนม สูตรอาหาร ไม่ใช้น้ำมันพืชที่ประกาศห้ามใช้นี้  

ถ้าจะมีผลกระทบจริงๆ ก็น่าจะเป็นกลุ่มผู้ขายตลาดนัด หาบเร่ ที่กลุ่มนี้ผู้ทำก็คือคนในบ้านในครัว ทำออกมาขายตามหน้าบ้าน เขาอาจจะไปซื้อพวกเนยขาว เนยเทียม ซึ่งมีไขมันทรานส์สูงอยู่ ถ้าเกิดว่าอีกหน่อยถ้าประเทศไทยไม่มีจำหน่ายจริง ผู้ผลิตกลุ่มนี้ก็ไม่ได้มีความเปลี่ยนแปลงอะไร ก็ยังมีอย่างอื่นให้ใช้อยู่  แต่ปัญหาคือว่าอาจจะต้องปรับสูตรให้อร่อยเหมือนเดิม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เขากังวลข้อแรกเลย ข้อที่สองเขาอาจจะกังวลว่า ต้นทุนจะสูงขึ้น เพราะถ้าเกิดว่าเคยใช้เนยเทียม เนยขาว อาจจะขายชิ้นละ 10 บาท แต่พอต้องเปลี่ยนปรับสูตรอาหาร คนไหนที่เคยทำกับข้าวก็ต้องเคยทดสอบว่า พอเอาน้ำมันนี้ออก น้ำมันใหม่มา อาจจะต้องเพิ่มน้ำตาลไปนิด เพิ่มเค็มมาหน่อย เพื่อให้มันจางๆ กัน และจะได้อร่อยคล้ายๆ เดิม ลูกค้ายังกลับมาตรงนี้อาจจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นจาก 10 บาทเป็น 12 บาท ซึ่งผู้บริโภคอาจจะรู้สึกว่าราคาเพิ่มขึ้น ไม่อยากซื้อ ทำให้ยอดขายตก จุดนี้ก็เลยจะเป็นปัญหาที่ตอนนี้ทางผู้ผลิตทั้งหลายบางคนที่ยังเตรียมการไม่ได้เขาก็เริ่มบ่นกันนิดหน่อยแต่ว่าทั้งหลายทั้งปวง สุดท้ายก็จะมีทางออกกันได้เอง  

ที่ถามว่ามันใหม่ไหม มันไม่ได้ใหม่มาก ของเรายังเริ่มมาตั้งนานแล้ว เพราะว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์การแพทย์มันพบชัดจริงๆ ว่า หากกินเข้าไป ใน 100 คน 23 คน เป็นโรคหลอดเลือดและหัวใจ  เพราะฉะนั้นอยู่ดีๆ ไม่ว่าดีมากินตัวนี้เข้าไป ถ้าเกิดว่าคนที่ 23 คนที่เป็น 23 % ถ้าเขารู้ก่อนก็ไม่รับประทานอาหารพวกนี้ เพราะฉะนั้นรัฐบาลไทยก็มองเห็นเรื่องความปลอดภัยแล้ว ก็ต้องออกมาทั้งๆ ที่ต้องมีการ โอดครวญกันบ้างเล็กน้อย และ WHO หรือองค์การอนามัยโลก เขาค่อยๆ ทำ เขามีกฏมาเยอะแยะมากเลย เสร็จแล้ว ปี 2023 ทั่วโลกต้องหมด  ไม่มีไขมันทรานส์ตัวนี้เลย ตอนนี้ปี 2018 นับไปก็อีก 5 ปี ดังนั้นคนไทย ประเทศไทยก็ต้องเริ่ม  

ถ้าถามว่าทำไมต้องเริ่มปีนี้ 2561 ไปเริ่มใกล้ๆไม่ได้เหรอ มันก็จะมีกฏหมายฉบับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ขององค์การอาหารและยา เขากำหนด 3 ปีว่าคนที่ทำโรงงานผลิตอาหารต้องไม่มีไขมันทรานส์แล้ววันที่หมดเวลาของ อ.ย.ของสหรัฐอเมริกา คือ 16 มิถุนายน 2561 เพราะฉะนั้นการที่กระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยเราออกมาประกาศแบบนี้ ส่วนตัวก็มองว่าเหมาะสม ก็คืออยู่ในระหว่างที่ อ.ย.ของสหรัฐบอกว่าหมดเวลาแล้ว บริษัททั้งหลายห้ามแล้ว แล้วเราก็กำลังอยู่ระหว่างทางของ 5 ปีขององค์การอนามัยโลก ก็มองว่ารัฐบาลไทยก็ไวดี เขาก็เตรียมการให้พร้อม  

ต่อไปถามว่า ณ วันนี้ ถ้าจะกลัวก็คือกลัวว่ามันยังมีการผลิตอาหารที่ก่อนวันที่ 16 มิถุนายนอยู่ อาหารพวกนี้ก็เข้ามาประเทศไทย เสร็จแล้วเราก็เอามาปรุงเป็นสูตรขนมเรา อันนี้ก็ยังมีผล รัฐบาลไทยก็มองว่าภายใน 6 เดือนนี้น่าจะเตรียมการกันพร้อม แล้วพอขึ้นเดือนมกราคม 2562 โอกาสก็คงจะไม่พบ เราก็ต้องคิดในทางที่ดีไว้ รองศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ศรีจำเริญ อาจารย์ประจำภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร  คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้ข้อมูล ติดตามเรื่อง รู้ทันไขมันทรานส์ ตอนที่ 2 ได้เร็วๆ นี้ 

 

ขอขอบคุณภาพจาก : เว็บไซต์คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร 

 

Loading

แชร์รายการนี้
fb-share-icon